วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เตรียมงานให้พร้อม

ให้นักเรียนทำชิ้นงานและทำแบบประเมินชิ้นงานให้เสร็จภายในอาทิตย์นี้นะคะ
ตัวอย่างแบบประเมินอยู่ในเว็บแล้วให้ปรับแก้ข้อคำถามให้ตรงกับชิ้นงานของนักเรียนนะคะ
มีปัญหา ส่งคำถามที่ อีเมล์ naulchey@gmail.com   krubudsaba1@gmail.com

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

project3

1.หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

               โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึง เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น
 ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อ
เพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้ง
เครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำ เค้าโครงของโครงงาน
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือ
ความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว
ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
5. งานอดิเรกของนักเรียน
6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนา มาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบ
สำคัญ ดังนี้
1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
4. มีเวลาเพียงพอ
5. มีงบประมาณเพียงพอ
6. มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้
นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้
เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดา เนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม
ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
1. จะทำ อะไร
2. ทำไมต้องทำ
3. ต้องการให้เกิดอะไร
4. ทำอย่างไร
5. ใช้ทรัพยากรอะไร
6. ทำกับใคร
7. เสนอผลอย่างไร

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน มีรายละเอียดดังนี้
รายงาน                                                                 รายละเอียดที่ต้องระบุ
ชื่อโครงงาน                                         ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน                            ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน                 ครู-อาจารย์ผู้ทำ หน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของ นักเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน                         ระยะเวลาการดำ เนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
แนวคิด ที่มาและความสำคัญ            สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
วัตถุประสงค์                                        สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
หลักการและทฤษฎี                            หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
วิธีดำ เนินงาน                                     กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และงบประมาณ
ขั้นตอนการปฏิบัติ                              วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ                            สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
เอกสารอ้างอิง                                      สื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน

4. การลงมือทำโครงงาน
เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นขอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงาน
ได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้

               - การเตรียมการ
  การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้
พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้ มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สา หรับ
บันทึกการทำ กิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำ โครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหา
และแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
                - การลงมือพัฒนา
   1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำ
ให้ผลงานดีขึ้น
   2. จัดระบบการทำ งานโดยทำ ส่วนที่เป็นหลักสา คัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงต่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบ
หรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียด
ในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
   3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
                 - การทดสอบผลงานและแก้ไข
    การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้อง
ตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
  เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้วให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้อ่าน
ได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำ โครงงาน และทำ การอภิปรายผลด้วยเพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนา
 ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้วทั้งนี้ยังรวมถึงการนา หลักการ ทฤษฎี
หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
เมื่อทำ โครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สา คัญหรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียน
เป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้
 
5. การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดา เนินการศึกษาค้นคว้า
ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงาน นักเรียนควรใช้ภาษา
ที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้

ส่วนนำ
ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำ ให้โครงงานสำเร็จ
5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำ เนินการ และผลที่ได้ โดยย่อ

บทนำ
บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
2. เป้ าหมายของการศึกษาค้นคว้า
3. ขอบเขตของโครงงาน

หลักการและทฤษฎี
หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการ
ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนา
เพิ่มเติมด้วย

วิธีดาเนินการ
วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อม
ทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน

ผลการศึกษา
ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ
ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก

สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูล
ที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนา ผลการทดลอง
หรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรค์ของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการ
ที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่อง
ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย

ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และ
ประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนา ผลงานของโครงงานได้ใช้ด้วย

บรรณานุกรม
บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า 
หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นา มาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียน
เอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย

การจัดทำคู่มือการใช้งาน
หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำ คู่มืออธิบายวิธีการ
ใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อผลงาน
2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงาน
นั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วน
อะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงาน
ในฟังก์ชันหนึ่งๆ
  
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออก
ถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทและเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้
และเข้าใจถึงผลงานนั้นการเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงาน
โดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุมการจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และ
อธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
6. การสาธิตผลงาน
7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน

3.ผังงาน(flowchart)


การเขียนผังงาน ( Flowchart ) 
    ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
หรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของผังงาน 
    • ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน 
    • 
ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด 
    • 
ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 
    • 
ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น 
วิธีการเขียนผังงานที่ดี 
    • ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้ 
    • 
ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา 
    • 
คำอธิบายในภาพควรสั้นกระทัดรัด และเข้าใจง่าย 
    • 
ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า ออก 
    • 
ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน 
    • 
ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม
ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart ) 
    การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ 
ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน 

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Ex.Project.

ตัวอย่างการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) ภูมิศาสตร์ และระบบจัดการร้านอาหาร
สาขาของงานวิจัย โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน
ชื่อผู้ทำโครงงาน 1. นายวรายุทธ      อินทนนท์   
                        2.นางสาวสุภาวดี      ช่างออม
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นายยุทธนา  ยอดขยัน
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม นางอัจฉรา  ขาวสะอาด
ระยะเวลาดำเนินงาน 4 เดือน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
             การ ประกอบธุรกิจเป็นการหารายได้เลี้ยงชีพอย่างหนึ่ง ในบรรดาประเภทของธุรกิจทั้งหลายนั้น ธุรกิจร้านอาหารเห็นจะมีความโดดเด่นพิเศษกว่าธุรกิจประเภทอื่นๆ ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหาร จึงทำให้ธุรกิจประเภทนี้มีการแข่งขันที่สูงมากไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันในด้าน รสชาติ การบริการที่ประทับใจ บรรยากาศ ความสะดวก  รวด เร็วในการบริการ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจร้ายอาหารทั้งสิ้น ยิ่งเรากำลังอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร หากเรานำเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นบางตัว มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกิจการร้านอาหารของเรา ก็จะทำให้การจัดการในธุรกิจร้านอาหารของเราดีขึ้น ซึ่งโปรแกรมนี้ ผู้ประกอบการ สามารถนำเข้าภาพที่ออกแบบรูปของสถานที่ร้านอาหารมาใช้ใน Programได้ รวมทั้งสามารถ เพิ่ม,ลดแก้ไข ตำแหน่ง สี ขนาด จำนวนคน รูปร่าง ของโต๊ะในร้านอาหาร ทราบเมนูที่ลูกค้าสั่งและเสิร์ฟได้ถูกต้อง ทันตามความต้องการ ทั้งยังมีระบบการจัดการรายได้ เช่น สามารถตรวจสอบยอดเงินที่ต้องชำระของลูกค้าแต่ละโต๊ะได้อย่างรวดเร็ว และยังมีตารางข้อมูลรายได้ของยอดเงินในแต่ละวัน และรายชื่ออาหาร ซึ่งจะทำให้          การรวมยอดขายในแต่ละวันง่ายขึ้น มีความสะดวกสบายมากขึ้นในการรวมยอดขายในแต่ละวัน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อให้การจัดการในร้านอาหารดีขึ้น
3. เพื่อสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล
4. เพื่อต้องการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ประโยชน์ได้ในร้านอาหารอย่างมีคุณภาพ
3. หลักการและทฤษฎี
ภูมิศาสตร์ และระบบจัดการร้านอาหาร” นี้มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นโปรแกรม ซึ่งสามารถพัฒนาโดยใช้โปรแกรม Delphi 7.0 เป็นหลักที่มีการประยุกต์เอาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Pascal ที่ นำมาสร้างเป็นระบบจัดการร้านอาหารที่มีคุณสมบัติในการช่วยงานในภัตตาคาร อาหารได้ เช่น การวางโต๊ะอาหารในหน้าต่างด้านซ้ายของโปรแกรมที่เกี่ยวกับสถานที่ร้านอาหาร และแสดงสถานะของโต๊ะ รวมทั้งสรุปยอดเงิน จำนวนโต๊ะในแต่ละวันทางหน้าต่างด้านซ้าย ทั้งยังมีปุ่มเชื่อมโยงไปยัง Form อีก Form  ที่มีตารางบัญชีของทั้งในแต่ละวัน และแต่ละเดือนได้อีกด้วย
4. วิธีดำเนินงาน
เทคโนโลยีที่ใช้ โปรแกรมนี้จะมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
   - Input ซึ่งรับค่ามาจาก mouse และ keyboard แล้วนำมาประมวลผลส่งต่อไปยังตัวโปรแกรม
   - Output แสดงผลออกมาทาหน้าจอ monitor
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
     - Delphi 7.0
     - Photoshop CS
     - Macromedia Flash MX
รายละเอียดของโปรแกรมที่พัฒนา
                “ภูมิศาสตร์ และระบบจัดการร้านอาหาร (Restaurant with Landscape)” จัดเป็นโปรแกรมในประเภท โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งโปรแกรมนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ข้าง โดยข้างซ้ายที่มีขนาดใหญ่กว่าจะเป็น ภูมิศาสตร์ของร้านอาหารที่จะวาดด้วยโปรแกรมอะไรก็ได้แล้วจะมีปุ่มให้ Add ภาพลงไปได้ หรือจะถ่ายรูปจริง                 จากด้านบนที่สูง แล้วตกแต่ง แล้วนำ Add เข้ามา โดยจะสร้าง Component ที่ สามารถลากโต๊ะ มาวางบนหน้าจอได้ ทั้งยังเมื่อคลิกเข้าไปแล้วก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงเบอร์โต๊ะ ขนาดโต๊ะ(ไม่จำเป็นต้องใส่ตรงตามความจริงก็ได้ เพราะรูปที่นำมาใส่อาจจะไม่พอดีกับจำนวนโต๊ะถ้าใส่ขนาดตามความจริง) สีโต๊ะ รูปร่างโต๊ะ(กลม กับ สี่เหลี่ยม) จำนวนคนนั่ง ฯลฯ ส่วนด้านซ้ายที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นหน้าต่างที่แสดงผลสถานะของโต๊ะที่กำลัง รับประทานอาหาร หรือกำลังรอเงินทอน เป็นต้น ทั้งยังมีรวมยอดขาย รวมโต๊ะ ของวันนี้อีกด้วยInput/Output specification Input: การรับค่าจาก Mouse และ Keyboard ที่คลิกลงไปในส่วนต่างๆ ของโปรแกรม ที่นำไปประมวลผล ต่างๆ ภายในโปรแกรม Output: การแสดงผลออกทางหน้าจอ monitor

              5. แผนปฏิบัติงาน
ลำดับที่
กิจกรรม
เดือนที่ 1
เดือนที่ 2
เดือนที่ 3
เดือนที่ 4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
ศึกษาระบบในร้านอาหาร
















2
ออกแบบรายละเอียดของโปรแกรม
















3
ศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยDelphi
















4
ออกแบบโครงสร้างของซอฟต์แวร์
















5
พัฒนาซอฟต์แวร์
















6
ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
















7
จัดทำรายงาน และคู่มือการใช้โปรแกรม
















  6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
• ซอฟต์แวร์โปรแกรมประยุกต์ระบบจัดการร้านอาหาร
• ความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมด้วยซอฟต์แวร์ Delphi
7. เอกสารอ้างอิง
หนังสือ เริ่มต้นอย่างมืออาชีพด้วย Delphi 7 ฉบับสมบูรณ์ โดย สัจจะ จรัสรุ่งรวีวร จาก Dev Book
หนังสือ การเขียนโปรแกรมภาษา Delphi จาก สยามคอมพิวเตอร์
หนังสือ เริ่มต้นอย่างมืออาชีพด้วย Delphi 5 ฉบับสมบูรณ์  โดย  สัจจะ จรัสรุ่งรวีวร จาก Inf

job1.m6(โครงงาน)



แบบฝึกหัดที่ 1  วิชาโครงงาน
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ แล้วเขียนลงในสมุด ส่งท้ายชั่วโมง

1.         ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์

2.        ประเภทโครงงานคอมพิวเตอร์ อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

3.        ประโยชน์ของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


แบบฝึกหัดที่ 2  
 ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ในเรื่องเค้าโครงโครงงานคอมพิวเตอร์ และใส่เนื้อหาของโครงงานที่นักเรียนทำตามหัวข้อต่อไปนี้
1. 1. หลักการและเหตุผล .................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
      .................................................................................................................
      1.2 วัตถุประสงค์ (ห้ามมีคำว่าและ, หรือ) ................................................................................................................
      ................................................................................................................
................................................................................................................ ................................................................................................................
................................................................................................................
1.3 ขั้นตอนการดำเนินการ (เขียนเป็นข้อ ๆ) ................................................................................................................
................................................................................................................ ................................................................................................................
................................................................................................................
..............................................................
..................................................
      1.4 ขอบเขตและข้อจำกัด ก. ขอบเขตโครงการ (บอกเวลา, และสถานที่) ................................................................................................................
................................................................................................................ ................................................................................................................
................................................................................................................ ................................................................................................................

ข. ข้อจำกัดโครงการ (เป็นข้อ ๆ) .................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
.................................................................................................................
1.5 แหล่งข้อมูล ก. แหล่งข้อมูลขั้นต้น (เป็นข้อมูลที่จัดหาเอง, สร้างเอง เช่น สัมภาษณ์, สอบถาม เป็นต้น) ..................................................................................................................
..................................................................................................................
.................................................................................................................. ..................................................................................................................
..................................................................................................................
ข. แหล่งข้อมูลขั้นสอง (จากแหล่งอื่น ๆ เช่น หนังสือ, โทรทัศน์ ต้องมีการอ้างอิงที่มาให้ถูกต้อง) ..................................................................................................................
..................................................................................................................
.................................................................................................................. ..................................................................................................................
..................................................................................................................
1.6 ผังการสร้างสื่อช่วยสอน.เกมส์หรือสื่อต่าง ๆที่นักเรียนจะจัดทำ
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
..................................................................................................................
2. ชื่อโครงการ ..................................................................................................................
..................................................................................................................
3. สรุป 3.1 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ก................................................................................................................
.................................................................................................................. ข...............................................................................................................
................................................. ฯลฯ
3.2 แผนงานในอนาคต ก.................................................................................................................
...................................................................................................................ข.................................................................................................................
...................................................................................................................